Meet our Manipulative Physiotherapists





อาจารย์นักกายภาพบำบัดจุฬามากประสบการณ์
กับเทคนิคขยับข้อต่อ
ของกายภาพบำบัดศาลาแดง
(เทคนิคเฉพาะทางจากเซ้าท์ ออสเตรเลีย)
เพื่อพิชิตปวด
*สื่อต่างสนใจเข้าขอสัมภาษณ์*
รวมภาพและสาระความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับกายภาพบำบัดเฉพาะทางที่เป็นประโยชน์
โดยมุ่งพิชิตภารกิจเพื่อหยุดอาการ ปวด ชา เจ็บ
ด้วยสามารถจัดการปัญหาระบบข้อต่อ กล้ามเนื้อและประสาท
All news and issues about our treatment, technique,
clinic activities and beneficial informations for society.
ท่ามกลางภาวะการแข่งขันของสังคมในยุคปัจจุบัน ทุกคนต่างพากันทำงานตามภาระหน้าที่ จนบางครั้งอาจลืมนึกถึงสุขภาพของตัวเอง จะมารู้สึกตัวอีกครั้งก็เมื่อเริ่มมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย
โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และต้องนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ และไม่ค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ
พฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยพบว่าส่วนใหญ่จะมีอาการปวดต้นคอและปวดบ่าถึง 99 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งอาการดังกล่าวนี้เราเรียกว่าโรค “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการปวดจะทวีความรุนแรงขึ้น
จนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน กระทั่งถึงขั้นทำงานไม่ได้
ผศ.ดร.อดิษฐ์ จิรเดชนันท์ อาจารย์นักกายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง
อาจารย์ประจำภาควิชากายภาพบำบัด แขนงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวว่า ทางเลือกในการรักษาผู้ที่ประสบปัญหาอาการปวดในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเข่า ฯลฯ มีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน
วิธีแรก คือ “การรับประทานยาบรรเทาอาการปวด” และวิธีที่สองคือ “การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด” แต่ปัจจุบันคนไข้หันมารักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดกันมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดการระคายเคืองและเป็นแผลในระบบทางเดินอาหารทำให้ตับและไตต้องทำงานหนัก เป็นต้น
ซึ่งวิธีทางกายภาพบำบัดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ พ.ศ.2547 บอกว่าเป็นวิธีการตรวจเช็ค ประเมิน และวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกาย
ของผู้ป่วย หากพบความผิดปกติหรืออาการเจ็บปวดจากการเคลื่อนไหวสามารถรักษาได้ด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดและการรักษาด้วยวิธีนี้
จะไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาซึ่งคนไทยเองรู้จักการทำกายภาพบำบัดมานานแล้ว สังเกตได้จากภูมิปัญญาไทยในเรื่องการใช้ลูกประคบ
การใช้ความร้อนหรือความเย็นเข้าช่วย นั่นก็คือการทำกายภาพบำบัดอย่างหนึ่ง แต่สำหรับหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คือ กายภาพบำบัดแขนงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อซึ่งจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท
ด้วยวิธีการปรับท่าทางของร่างกาย โดยการขยับกระดูกและข้อต่อ รวมทั้งการออกกำลังกายเฉพาะส่วนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละระดับ
ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด
สำหรับหลักในการรักษาด้วยวิธีนี้มีอยู่ 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ “ขั้นตอนการประเมิน”
โดยจะทำการซักประวัติของผู้มารับการรักษาว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือมีพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
ถามถึงลักษณะและที่มาของอาการที่รบกวนชีวิตประจำวัน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของอาการในแต่ละวัน
จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะทำการประเมินอาการ โดยใช้ความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์และกลศาสตร์การเคลื่อนไหว
เข้ามาอธิบายวิเคราะห์อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น รวมทั้งใช้วิธีการขยับข้อต่อเพื่อตรวจเช็คการเคลื่อนไหว
ซึ่งจะทำให้รู้ว่าข้อต่อมีความผิดปกติอย่างไร เช่น มีอาการเจ็บปวดเวลาขยับข้อต่อ
ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะวิเคราะห์หาเทคนิคที่ถูกต้องและเหมาะสมในการรักษา
ส่วนขั้นตอนที่ 2 เป็น “การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด”
ซึ่งขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับนักกายภาพบำบัดว่ามีความชำนาญมากน้อยแค่ไหน และจะมีการออกแบบการรักษาด้วยวิธีใด เช่น การดึงยืดต้นคอ การยืดหลัง การแนะนำการบริหาร หรือการเพิ่ม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งการจะ ใช้วิธีใดในการรักษาบำบัดนั้นอยู่ที่การวิเคราะห์อาการของคนไข้เป็นสำคัญ เช่น นักกีฬาเทนนิสมาทำการรักษาก็ต้องทราบว่าเวลาเล่นเทนนิสใช้ ลักษณะท่าทางการยืนหรือการตีลูกเทนนิสอย่างไร โดยจะให้คนไข้เคลื่อนไหวให้ดู หากเกิดความเจ็บปวดในบริเวณใด จึงค่อยนำเอาวิธีการ เคลื่อนไหวนั้นมาวิเคราะห์ว่า มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใดหรือใช้ข้อต่อส่วนไหนในการเคลื่อนไหว
จากนั้นจะใช้การสอบถามอาการและผลการตรวจ ร่างกายเข้าไปสนับสนุนหรือหักล้างสมมุติฐาน
ที่ได้ตั้งเอาไว้จะได้รู้ว่าจุดใดที่เกิดความผิดปกติขึ้น ถ้าเป็นกล้ามเนื้อจะดูว่ากล้ามเนื้อบริเวณนั้นมีการอักเสบหรือไม่
ด้วยการออกแรงต้านการทำงานของกล้ามเนื้อมัดนั้น โดยเปรียบเทียบกับข้างที่เป็นปกติ ถ้าเป็นที่ข้อต่อนักกายภาพบำบัดก็จะต้องประเมินได้ว่า
ข้อต่อมีความตึงตัวเป็นอย่างไร โดยการเปรียบเทียบข้อต่อข้างที่มีปัญหากับข้างที่ดีเช่นเดียวกับการตรวจกล้ามเนื้อว่า
มีการเคลื่อนไหวที่เหมือนกันหรือไม่ แต่ในกรณีกระดูกสันหลังซึ่งเป็นข้อต่อ ในเชิงเดียวกันจะอาศัยข้อตรงกลางและ
ข้อด้านข้างเทียบการเคลื่อนไหวในระดับ บนและล่างว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
และการเคลื่อนไหวนั้นทำให้เกิดปัญหาอย่างที่คนไข้บอกหรือเปล่าจากนั้นจึงเลือกเทคนิคต่างๆ
ในการรักษา ด้วยการขยับข้อต่อ
การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด โดยเทคนิคการขยับข้อต่อเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ
ซึ่งต้นกำเนิดของกายภาพบำบัดด้วยวิธีนี้อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย
และเป็นเทคนิคที่ได้นำมาเปิดสอนในระดับปริญญาโท ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชากายภาพบำบัด แขนงกระดูก และกล้ามเนื้อ)
โดยได้เปิดสอนมาประมาณ 15 ปีแล้ว โดยรับนิสิตรุ่นละ 5 คน
ใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรคือ 1 ปีครึ่ง แต่ปัจจุบันที่มีนิสิตเรียนจบไม่ถึง 10 คน
เนื่องจากเป็นคอร์สเวิร์คที่เน้นการปฏิบัติและการทำวิจัยควบคู่กันไป และจะเน้นการวิจัยทางคลินิกเป็นหลัก
เมื่อนิสิตเรียนจบจะได้เป็นมหาบัณฑิต ด้านกายภาพบำบัดที่มีความสามารถในการประเมินและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวได้
โดยละเอียดและสามารถใช้เทคนิคการขยับข้อต่อในการตรวจประเมินและรักษาได้อย่างถูกต้องตามหลักการและการ
รักษาด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่จะสามารถเห็นผลได้ทันที โดยเฉพาะเรื่องการลดอาการเจ็บปวด นั่นเป็นเพราะการขยับข้อต่อทำให้เกิดการ
กระตุ้นเส้นประสาท กระแสประสาทจะถูกส่งขึ้นไปยังสมอง สมองก็จะกระตุ้นสารสื่อประสาทต่างๆ ลงมายับยั้งความเจ็บปวด
ในบริเวณที่ถูกกระตุ้น ส่วนในด้านการเคลื่อนไหวการขยับข้อต่อจะช่วยให้เกิดการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยง ในผู้ที่มีอาการ
เมื่อยและล้าก็จะรู้สึกสบายเนื้อสบายตัวขึ้นมาในทันที
แต่สำหรับคนไข้ที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรังมานานกว่า 5 ปี ผลที่ได้อาจไม่เห็นชัดในทันที
แต่จะดีขึ้นในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป
ซึ่งอยู่ที่ความเรื้อรังของอาการและความร่วมมือของคนไข้
โดยควรบริหารกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนร่วมด้วยจะช่วยให้ผลที่ดีขึ้น
อาจารย์นักกายภาพบำบัด ยังแนะนำต่ออีกว่า
ผู้ที่รักษาด้วยวิธีการรับประทานยามาก่อน แล้วหันมารักษาด้วยวิธีการขยับข้อต่อยังไม่ควรหยุดยาในทันที
เพราะหากหยุดรับประทานยาแล้วคนไข้มีอาการแย่ลงจะบอกได้ยากว่าอาการที่แย่ลงเกิดจากการหยุดรับประทานยา
หรือเกิดจากการขยับข้อต่อ ซึ่งคนไข้ต้องพิจารณาอาการของตัวเองด้วยว่ารับประทานยาแล้วอาการดีขึ้นหรือไม่
ถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องมองหาทางเลือกอื่น

โดยต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ว่ามีวิธีอื่นใดช่วยได้อีกบ้างนอกจากการผ่าตัด แต่ในฐานะที่เป็นนักกายภาพบำบัดขอแนะนำว่า
วิธีแรกที่ควรเลือกเพื่อการรักษาคือการทำกายภาพบำบัด เพราะการทำกายภาพบำบัดจะเข้าไปช่วยกระตุ้น
ให้กระบวนการซ่อมแซมดำเนินไปได้เร็วขึ้น
และไม่มีผลข้างเคียงอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีรับประทานยาแล้ว
การทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีการขยับข้อต่อจะเห็นผลได้เร็วกว่าและช่วยย่นระยะเวลารักษาให้เร็วขึ้น
ทำให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ และกลับไปทำงานได้อย่างมีความสุข
หากใครที่มีอาการปวดในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ปวดหัว ปวดคอ ปวดไหล่ หรือปวดตามแนวเส้นประสาทบริเวณแขนขา ฯลฯ
และมีปัจจัยอื่นๆร่วม เช่น การนั่ง ยืนในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือปวดเพราะการใช้งานอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งที่หนักเกินไป
ควรรีบปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจประเมินอาการและรับการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อไป
ผศ.ดร.อดิษฐ์ กล่าว
โดยสามารถปรึกษา ที่คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง
ทางโทรศัพท์ได้ที่เบอร์
086 336 4823
02 234 3898
ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง [ วันพฤหัสบดี ที่ 6 เดือน สิงหาคม 2552 ]
ปวดคอ ไหล่ หลัง
โรคประจำสังคมออฟฟิศ
ในงาน “คืนชีวิตชีวา ผ่อนคลายตามสไตล์โมเดิร์นเวิร์คเกอร์” ที่โรงแรมแพน แปซิฟิก ได้เชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเรื่องการปวดตึงกล้ามเนื้อ
พร้อมด้วยหนุ่มสาว คนทำงานรุ่นใหม่ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ ผลงานการวิจัย และเรื่องภัยสุขภาพที่ระบาดอยู่ในหมู่คนทำงานยุคดิจิตอล
ดร.ณัฐชา เพชรดากูล นักวิจัยและที่ปรึกษา สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากผลการสำรวจงานวิจัย
เรื่องสุขภาพของพนักงานออฟฟิศ และผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น เสมียน นักบัญชี นักวิชาการ สถาปนิก ที่มีอายุระหว่าง 25-49 ปี
พบว่าร้อยละ 99.8 มีปัญหาเรื่องสุขภาพ คือ ปวดคอ ไหล่ และหลัง ซึ่งสาเหตุที่สำคัญเกิดจากความเครียด
ลักษณะของงานที่ทำการนั่งโต๊ะทำงานหรืออยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ นานเกิน 4 ชั่วโมงต่อวัน อยู่ในอิริยาบถเดิมๆ
นานเกิน 6 ชั้วโมงต่อวัน และการจัดวางอุปกรณ์สำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ไม่ถูกสุขลักษณะ
ในบางคนมีอาการปวดเมื่อยสัปดาห์ละครั้ง ไปจนถึงปวดทุกวัน
ผศ.ดร.อดิษฐ์ จิรเดชนันท์
——————————-
อาจารย์กายภาพบำบัดจุฬา
นักกายภาพบำบัดอาวุโส
คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง
ให้คำแนะนำว่าพนักงานออฟฟิศและผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ
** ไม่ควรใช้เวลานั่งทำงานหรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน
** ควรเคลื่อนไหวร่างกายและเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 15 – 20 นาที
** ไม่ควรนั่งหลังค่อม ลำคอยื่น เพ่งจอคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้
กระดูก/ข้อต่อยื่นไปข้างหน้ามาก ทำให้ปวดเมื่อยที่คอ ปวดบ่า
และปวดกระบอกลูกตา บางคนอาจรู้สึกเจ็บร้าวกระจายไปถึงแขน
ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดโดยตรงเพื่อรักษาให้ถูกวิธี
tips “ การจัดวางอุปกรณ์ที่ถูกสุขลักษณะ คอมพิวเตอร์ ควรจัดให้จอบนอยู่ในระดับสายตา ตำแหน่งการวางคีย์บอร์ด
แขนท่อนล่างควรทำมุมเก้าสิบองศากับท่อนแขนบน เก้าอี้ทำงานควรมีพนักพิง หาเก้าอี้ตัวเล็กๆ สักตัว
สำหรับวางเท้าใต้โต๊ะ และควรเลือกใช้หมอนแน่นกระชับ ไม่ยุบตัว
เวลานอนไม่ควรใช้หมอนซ้อนกัน 2 ใบ”
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง : การกายภาพบำบัด อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสุขภาพ โดยนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์กับเทคนิคการขยับข้อต่อฯ

ITEM #2

ITEM #3
การขยับข้อต่อเพื่อรักษาอาการปวดคอ บ่า หลัง ไหล่
แต่ละวันใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานหลายชั่วโมง ส่งผลกระทบให้ปวดกล้ามเนื้อไหล่ คอ
ช่วงแรกเป็นการเข้าใจผิดคิดว่านอนตกหมอน แล้วจึงรู้ว่าสาเหตุมาจากการทำงาน
ผศ.ดร.อดิษฐ์ จิรเดชนันท์
อาจารย์กายภาพบำบัดจุฬา
นักกายภาพบำบัดอาวุโส
คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง

ให้คำแนะนำว่าพนักงานออฟฟิศและผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ
1.ไม่ควรใช้เวลานั่งทำงานหรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน
2. ควรเคลื่อนไหวร่างกายและเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 15-20 นาที
3. ไม่ควรนั่งหลังค่อม ลำคอยื่น เพ่งจอคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ กระดูก/ข้อต่อ ยื่นไปข้างหน้ามาก
ทำให้ปวดเมื่อยที่คอ ปวดบ่า และปวดกระบอกลูกตา บางคนอาจรู้สึกเจ็บร้าวกระจายไปถึงแขน
ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดโดยตรงเพื่อรักษาให้ถูกวิธี
“การจัดวางอุปกรณ์ที่ถูกสุขลักษณะ คอมพิวเตอร์ ควรจัดให้จอบนอยู่ในระดับสายตา
ตำแหน่งการวางคีย์บอร์ดแขนท่อนล่างควรทำมุมเก้าสิบองศากับท่อนแขนบน เก้าอี้
ทำงานควรมีพนักพิง หาเก้าอี้ตัวเล็กๆ สักตัว สำหรับวางเท้าใต้โต๊ะ และควรเลือกใช้
หมอนแน่นกระชับ ไม่ยุบตัว เวลานอนไม่ควรใช้หมอนซ้อนกัน 2 ใบ”

สัมภาษณ์สดออกอากาศทาง รายการSoเชี่ยวย้ำ“กดขยับ รักษาอาการปวด |
ผศ.ดร.อดิษฐ์ จิรเดชนันท์
กภ.ศิริลักษณ์ จังรุ่งสกุล
นักกายภาพบำบัดอาวุโส คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง
รักษาโดยใช้เทคนิคเฉพาะทางของออสเตรเลีย
ร่วมกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ได้มาตราฐาน
สัมภาษณ์สด ออกอากาศ รายการ Bangkok City Channel
ทางทรูวิชั่นส์
ทางทรูวิชั่นส์ช่อง 76 เวลา 10.00-11.00 น.

ประโยชน์ของการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บ ปวด ตึง ชา ร้าว
ซึ่งทั้งเทคนิคการกดขยับข้อต่อ และการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด
เป้นประโยชน์อย่างมากในการฟื้นฟูและรักษาอาการข้างต้น
ผศ.ดร.อดิษฐ์ จิรเดชนันท์
กภ.ศิริลักษณ์ จังรุ่งสกุล
นักกายภาพบำบัดอาวุโส คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง
รักษาโดยใช้เทคนิคเฉพาะทางของออสเตรเลีย
ร่วมกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ได้มาตราฐาน
คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง ได้รับเรียนเชิญร่วมงาน |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
Assessment and primary treatment | |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | visited our booth. |
ผศ.ดร.อดิษฐ์ จิรเดชนันท์
กพ.ศิริลักษณ์ จังรุ่งสกุล
อาจารย์กายภาพบำบัด / นักกายภาพบำบัดอาวุโส คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง
รักษาโดยใช้เทคนิคเฉพาะทางของออสเตรเลีย
ร่วมกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ได้มาตราฐาน

คุณกำลังทรงท่าไม่เหมาะสมหรือเปล่า ??
คลินิกออกพื้นที่เพื่อไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ออฟฟิศซินโดรม
การป้องกัน และดูแลผู้มีอาการปวดจาก Office Syndrome
เมื่อได้มาออกพื้นที่ พบว่า หลายคนมีความตึงตัว ปวดคอ บ่า ไหล่และหลัง จึงให้ข้อมูลการรักษาทางกายภาพบำบัดแก่เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวซีพี
นอกจากสาระน่ารู้ในการดำรงท่าทางในการทำงานในที่ทำงานแล้ว เรายังมีเกมส์สนุกๆ มาให้ร่วมเล่น ทำบรรยากาศสนุกสนานและเป็นกันเอง
ขอบคุณทุกท่านที่มาสอบถามอาการต่างๆ การดูแลตนเอง และผู้ที่เคยมารักษากับเราก็ได้เข้ามาทักทาย จากเหนื่อยก็รู้สึกสดชื่น อบอุ่นขึ้นมาทันที
ผศ.ดร.อดิษฐ์ จิรเดชนันท์
กพ.ศิริลักษณ์ จังรุ่งสกุล
นักกายภาพบำบัดอาวุโส คลินิกกายภาพบำบัดศาลาแดง
รักษาโดยใช้เทคนิคเฉพาะทางของออสเตรเลีย
ร่วมกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ได้มาตราฐาน
“ถ้าเจ็บ ก็แปลว่าสายไปแล้ว”
แบ่งปันประสบการณ์การบาดเจ็บจากการใช้ซ้ำๆ
เวลาส่วนมากในการเรียนดนตรีนั้นคือเวลาที่ซ้อมด้วยตัวเอง และบ่อยครั้งที่จะเกร็งโดยไม่รู้ตัว
โดยเฉพาะเมื่อต้องซ้อมเพลงหรือแบบฝึกหัดที่ยากๆ และยิ่งเล่นไม่ได้ ก็จะซ้อมซ้ำๆ จึงอาจทำให้
กล้ามเนื้อสะสมอาการเกร็งเอาไว้………….
อาการปวดเมื่อย คือ สัญญาณเตือนจากร่างกาย สิ่งที่ควรทำคือหยุดแล้วทบทวนว่าผิดตรงไหน
ถ้ายังขืนตะบี้ตะบันซ้อม สิ่งที่ตามมาอาจเป็นอาการเจ็บเรื้อรังได้และตามที่โปรเฟสเซอร์คนนั้นกล่าวถึง
เมื่อต้นเอนทรี่ ก็คือ ถ้าร่างกายแสดงอาการเจ็บนั้นก็แปลว่ามันสะสมมาจนถึงจุดหนึ่งแล้ว
แปลว่าเราสักแต่ซ้อม ไม่ได้สนใจคิดถึงร่างกายเลย และนั่นก็ “สายเสียแล้ว”
บทความจาก Blog Piano Corner
ขอขอบคุณผู้นำประสบการณ์ตรงมาเป็นอุทาหรณ์ กรณีจำเป็นต้องใช้ร่างกายในท่าซ้ำๆ
เป็นเวลานานๆ ทำให้ต้องได้รับความเจ็บปวดได้





